เมนู

อรรถกถาอินทริยสโมธาน


บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงถึงการรวมอินทรีย์ของผู้เจริญ
สมาธิและของผู้เจริญวิปัสสนา เมื่อชี้แจงประเภทแห่งความเป็นผู้ฉลาดในความ
ตั้งไว้ เป็นอันดับแรกก่อน จึงกล่าวคำมี อาทิว่า สมาธึ ภาเวนฺโต เจริญสมาธิ
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุถุชฺชโน สมาธึ ภาวนฺโต คือปุถุชน
เจริญสมาธิอันเป็นฝ่ายแห่งการแทงตลอด. ส่วนแม้โลกุตรสมาธิก็ย่อมได้ แก่
พระเสกขะและแก่ผู้ปราศจากราคะ บทว่า อาวชฺชิตตฺตา ผู้มีตนพิจารณา
แล้ว คือ มีตนพิจารณานิมิตมีกสิณเป็นต้นแล้ว. ท่านอธิบายว่า เพราะกระทำ
บริกรรมมีกสิณเป็นต้นแล้วมีตนเป็นนิมิตให้เกิดในบริกรรมนั้น. บทว่า อาร-
มฺมณูปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ เป็นผู้ฉลาด
ในความตั้งไว้ซึ่งนิมิตอันให้เกิดนั้นนั่นเอง. บทว่า สมถนิมิตฺตูปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต คือ เมื่อจิตฟุ้งซ่านด้วยความเป็นผู้เริ่ม
ทำความเพียรเกินไป เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ คือ ความสงบจิต
ด้วยอำนาจแห่งการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์.
บทว่า ปคฺคหนิมิตฺตูปฏฺฐานกุสโล เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง
ปัคคหนิมิต คือ เมื่อจิตหดหู่ด้วยความเป็นผู้มีความเพียรย่อหย่อนเกินไป เป็น
ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งนิมิต คือการประคองจิตด้วยอำนาจแห่งการเจริญธรรม-
วิจยสัมโพชฌงค์ วีริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์. บทว่า อวิกฺเขปูปฏ-
ฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในการตั้งไว้ซึ่งความไม่ฟุ้งซ่าน คือ เป็นผู้ฉลาดใน
การตั้งไว้ซึ่งสมาธิอันสัมปยุตด้วยจิตไม่ฟุ้งซ่านและไม่หดหู่. บทว่า โอภาสุ-
ปฏฺฐานกุสโล
เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส คือ เมื่อจิตไม่ยินดีเพราะ
ความเป็นผู้ด้อยในการใช้ปัญญา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง ญาโณภาส